ชีวิตคือการลงทุน ตัวชีวิตคือต้นทุน สิ่งที่ได้มาหลังจากชีวิตคือกำไรทั้งหมด การเกิดมาในโลกนี้ เหมือนการมาเที่ยว หรือไปเที่ยวต่างประเทศ เราชื่นชมได้ทุกอย่างที่เห็น แต่เมื่อจะเดินทางกลับจะต้องวางทุกอย่างไว้ที่เดิม เพราะนั่นเป็นสมบัติของแผ่นดินนั้นเก็บเอาเพียงความสุข ความเบิกบานใจ ไปติดตัวกลับบ้านก็พอ ชีวิตในโลกนี้มีทั้งกำไรที่เป็นสินทรัพย์และกำไรที่เป็นอริยทรัพย์ สินทรัพย์เราทิ้งไว้ให้เป็นสมบัติของโลกต่อไป ให้คนอื่นชื่นชมด้วย หากเรามีโอกาสกลับมาเที่ยว (เกิดใหม่) อีก เราก็มีโอกาสได้ชื่นชมอีก อริยทรัพย์ คือ บุญ ความสุข ความเบิกบานใจ อิ่มใจ พอใจ เป็นสมบัติแท้ของเราตามเราไปได้ทุกแห่งหน
การลงทุนให้ได้กำไร คือหัดทำความพอใจในสิ่งที่เรามีความโชคร้ายของมนุษย์ คือการไม่รู้ว่าตนเองโชคดี
ทุกชีวิตล้วนมีภัย ภัยของชีวิตอาจเกิดขึ้นได้ทุกเสี้ยววินาที ภัยที่เกิดจากภายนอก ไม่ร้ายแรงเท่ากับภัยภายใน
ภัยที่ผู้อื่นสร้างขึ้น กระทบเราน้อยกว่าภัยที่เราสร้างขึ้นเอง บางคนทำผิดแล้ว กลับมานั่งเสียใจในภายหลังก็บ่อย ภัยทั้งหลายล้วนเป็นยาพิษ ที่ปลิดชีวิตจิตใจเราได้ทั้งสิ้น
มนุษย์อื่นทำลายเรา ก็ทำได้เพียงขณะหนึ่ง แต่จิตที่ตั้งไว้ผิดจะทำลายเราข้ามภพชาติ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงสอนเรื่อง “อภัยทาน” คือการยกโทษ แสดงอโหสิกรรมต่อกัน
ไทยเรามีประเพณีอย่างหนึ่งคือ เมื่อจุดธูปขอขมาศพ ก็จะขออโหสิกรรมต่อกัน คืออย่าได้มีเวรต่อกันในภพหน้า ให้ทุกอย่างจบลงที่ภพชาตินี้ แม้ศัตรูคู่อาฆาตก็ต้องอโหสิกรรมต่อกัน
บางครั้ง พิธีสำคัญในชีวิต เรามักจะไปขอพรผู้ใหญ่ และกล่าวว่ากรรมใดที่เราได้ล่วงเกิน ขอให้ท่านยกโทษให้ คือให้สิ่งที่เราทำเป็นอโหสิกรรม ทำให้ใจเราว่างเพียงพอเพื่อรองรับความดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ เช่น พิธีบวช เป็นต้น
การแสดงอภัยทานเป็นการชำระใจ แม้จะดูพูดง่าย แต่ก็ทำได้ยาก หากไม่ฝึกทำจนเป็นปกติ เพื่อให้เข้าใจง่ายและอยากทำให้ได้ ขอให้เรามาพิจารณาเหตุผล ถึงความต่อเนื่องของผลกรรมที่มีผลข้ามภพข้ามชาติว่า ให้ผลเผ็ดร้อนเพียงใด และยังเป็นผลที่เราหนีไม่ได้อีกด้วย
ร่วทำบุญเพื่อสั่งซื้อ หนังสือ อ่านฉบับเต็ม ได้ ที่นี่
Comments